หน้าหลัก
จำนอง-ขายฝาก
เอกสารประกอบการพิจารณา
ขั้นตอนการบริการ
สินเชื่อพิโก
บทความ
ติดต่อเรา
Call
amt capital
Monday, 03 June 2019
/
Published in
บทความ
การจดทะเบียน ขายฝาก
การจดทะเบียน ขายฝาก
ประเภทการจดทะเบียน
๑
.
ขายฝาก
มีกำหนด
….
ปี
หมายความว่า
การจดทะเบียนขายฝากทั้งแปลง
ไม่ว่าในหนังสือแสดงสิทธิ
จะมีชื่อคนเดียวหรือชื่อหลายคน
ทุกคนขายพร้อมกัน
๒
.
ขายฝากเฉพาะส่วน
มีกำหนด
…
ปี หนังสือแสดงสิทธิมีชื่อหลายคน บางคนหรือหลายคนแต่ไม่ทั้งหมดขายเฉพาะส่วนของตนไป ส่วนของคนอื่นบางคนไม่ได้ขาย
๓
.
ไถ่ถอนจากขายฝากและไถ่ถอนจากขายฝากเฉพาะส่วน
หมายความว่า ผู้ขายฝากได้ขอใช้สิทธิไถ่ถอนขายฝากภายในกำหนดอายุเวลาในสัญญาขายฝาก หรือภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ สิบปี
๔
.
แบ่งไถ่จากขายฝาก
หมายความว่า ผู้ขายฝากได้ขายฝากที่ดินรวมกันหลายแปลงในสัญญา
ขายฝากฉบับเดียวกัน
หรือขายฝากไว้แปลงเดียวต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินแปลงที่ขายฝากออกไปอีกหลายแปลง ภายในอายุสัญญา
ขายฝาก ผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากตกลงให้ไถ่ถอนขายฝากที่ดินไปบาง
แปลง และบางแปลงยังคงขายฝากอยู่ตามเดิม โดย
ลดจำนวนเงินที่ขายฝากลงตามแต่ผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากจะตกลงกัน
๕
.
ปลดเงื่อนไขการไถ่จากขายฝาก และปลดเงื่อนไขการไถ่จากขายฝากเฉพาะส่วน หมายความว่า ผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากได้ตกลงกันในระหว่างอายุสัญญาขายฝากว่าผู้ขายฝากขอสละสิทธิ
การไถ่จากขายฝาก กล่าวคือ จะไม่ขอใช้สิทธิการไถ่จากขายฝากอีกต่อไปแล้ว ทรัพย์สินที่ขายฝากไว้จึงพ้นจากเงื่อนไขการไถ่ เปรียบสภาพเช่นเดียวกับเป็นการขายธรรมดานับแต่จดทะเบียนปลดเงื่อนไขการไถ่
๖
.
โอนสิทธิการไถ่จากขายฝาก และโอนสิทธิการไถ่จากขายฝากเฉพาะส่วน
หมายความว่า
ในอายุสัญญาขายฝาก ผู้ขายฝากมีสิทธิที่จะไถ่ถอนจากขายฝากได้ แต่ผู้ขายฝากได้โอนสิทธิการไถ่ดังกล่าว
ให้บุคคลอื่นไป
จะโดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนก็ได้
แต่ต้องให้ผู้รับซื้อฝากรับทราบและให้ถ้อย
คำยินยอม
๗
.
โอนมรดกสิทธิการไถ่
หมายความว่า ในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก ผู้ขายฝากย่อมมีสิทธิ ที่จะ
ไถ่ถอนจากการขายฝากได้ แต่ต่อมาผู้ขายฝากได้ถึงแก่กรรม สิทธิไถ่จึงตกแก่ทายาท ทายาทจึงมาขอ
รับมรดกสิทธิการไถ่นั้น
๘
.
ระงับสิทธิการไถ่
(
หนี้เกลื่อนกลืนกัน
)
หมายความว่า ในอายุสัญญาขายฝากผู้มีสิทธิการไถ่
(
ผู้ขายฝาก
)
และผู้รับการไถ่
(
ผู้รับซื้อฝาก
)
ตกมาเป็นบุคคลเดียวกัน หนี้ที่ขายฝากย่อมเกลื่อนกลืนกัน
สิทธิการไถ่ย่อมระงับ
๙
.
แบ่งแยก
ในนามเดิม
(
ระหว่างขายฝาก
)
การขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ตกไปยังผู้ซื้อฝาก ส่วนผู้ขายฝากมีแต่สิทธิการไถ่ ผู้ซื้อฝากย่อมทำการแบ่งแยกหรือจำหน่ายจ่าย
โอนทรัพย์ที่ขายฝากได้เมื่อได้รับคำยินยอมจากผู้ขายฝากแล้ว
โดยผู้ซื้อฝากเป็นผู้ยื่นคำขอดำเนินการ หนังสือแสดงสิทธิ
แปลง
แยกให้ลงชื่อผู้รับซื้อฝากเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และให้ยกรายการจดทะเบียนประเภทขายฝากไปจดแจ้ง
ในรายการจดทะเบียน ถ้าแปลงแยกแปลงใดผู้ขายฝากยินยอมให้พ้นสิทธิการไถ่จากขายฝาก
ก็ให้จดทะเบียนในประเภทปลดเงื่อนไขการไถ่จากขายฝาก
๑๐
.
หลุดเป็นสิทธิ์
(
ผู้ซื้อฝากนำผู้ขายฝากมาไม่ได้
)
การจดทะเบียนประเภทนี้ได้แก่ การจดทะเบียน
ขายฝาก
(
อย่างเก่า
)
ไว้ก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๒
(
ก่อน ป
.
พ
.
พ
.
ใช้บังคับ
)
ก่อนจดทะเบียนประเภทอื่นต่อไป ให้จดทะเบียนประเภทหลุดเป็นสิทธิ
(
ผู้ซื้อฝากนำผู้ขายฝากมาไม่ได้
)
๑๑
.
ขยายกำหนดเวลาไถ่จากขายฝาก
หมายความว่า
ผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากตกลงกัน
ขยาย
กำหนดเวลาไถ่ออกไปอีก ซึ่งกำหนดเวลาไถ่รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินสิบปี นับแต่วันทำสัญญา
ขายฝากเดิม
เพิ่มเติม
คำแนะนำเกี่ยวกับ การขายฝาก สำหรับผู้ขายฝาก
What you can read next
จดทะเบียนแบ่งแยกในระหว่างขายฝากได้หรือไม่
หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินใหม่
ขึ้นเงินจำนอง
TOP