การถือกรรมสิทธิ์รวม
การซื้อที่ดินหรือทรัพย์สินร่วมกับผู้อื่นหรือได้ที่ดินจากมรดกร่วมกับพี่น้องถือเป็นที่มาของการถือกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งอาจนำไปสู่ความยุ่งยากในอนาคตได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันมีข้อควรระวังดังนี้
- ควรหลีกเลี่ยงการซื้อที่ดินหรือห้องชุดร่วมกับคนอื่น
- เรื่องสัดส่วนความเป็นเจ้าของที่ดินจะตกลงกันเมื่อใดก็ได้ แต่ถ้าตกลงกันได้แต่แรกก็ควรกำหนดไว้ตั้งแต่วันเข้าถือกรรมสิทธิ์รวม โดยจดทะเบียนประเภท “บรรยายส่วน”
- การเก็บรักษาโฉนดหรือหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด ควรแน่ใจว่าคนเก็บรักษาไม่เอาโฉนดไปให้เจ้าหนี้ยึดไว้ประกันหนี้
- การซื้อแบบเข้าถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับเจ้าของนั้นไม่ควรทำ ควรให้เขาแบ่งแยกที่ดินเท่าที่ต้องการซื้อออกมาก่อน แต่ถ้ารอไม่ได้ก็ให้ระบุไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายว่าเมื่อโอนเสร็จแล้ว ให้ร่วมกันยื่นคำขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมทันที
- สามีภรรยามีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยถ้าที่ดินเป็นสินสมรส แม้จะลงชื่อในโฉนดเพียงคนเดียว แต่ควรกำชับให้คู่สมรสเซ็นชื่อยินยอมกรณีขายออก เพราะการทำนิติกรรมเกี่ยวกับสินสมรสจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเสมอ หากไม่ได้รับความยินยอมก่อน อีกฝ่ายอาจฟ้องให้เพิกถอนการโอนนั้นได้
- ควรทำสัญญาระหว่างเจ้าของรวมไว้ว่าหากจะขายเฉพาะส่วนต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นด้วย
- ทางแก้ที่ดีที่สุดเมื่อมีการยึดทรัพย์ของเจ้าของรวมเพื่อขายทอดตลาดคือ เจ้าของรวมคนอื่นจะต้องไปยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้กันส่วนของตนออกจากการขายทอดตลาด
- กรณีที่ออกเงินร่วมกันหรือมีกรณีใด ๆ ที่กฎหมายถือว่ามีสิทธิร่วมในที่ดิน เช่น ออกเงินซื้อคนละครึ่ง ควรลงชื่อทั้งสองคนเมื่อรับโอนในการซื้อนั้น
- เรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมควรคำนึงหรือเรื่องทางเข้าออกให้สะดวก
- ถ้าเป็นไปได้ก่อนที่เจ้าของที่ดินจะยกที่ดินให้แก่ลูกหลานหรือทำพินัยกรรม ควรแบ่งที่ดินไว้ให้เรียบร้อย มีทางเข้าออกเป็นของแต่ละแปลง
การดำเนินการเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์รวมควรเป็นไปอย่างรอบคอบ ซึ่งหากเป็นไปได้ไม่ควรถือกรรมสิทธิ์รวมจะดีที่สุด เพื่อไม่ให้เสียทรัพย์เสียเวลาหากเกิดปัญหาขึ้น จดทะเบียนแบ่งแยกในระหว่างขายฝากได้หรือไม่