การโอนกรรมสิทธิ์
การโอนกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล บุคคลต่างด้าวสามารถที่จะทำได้ภายใต้กฎหมาย แต่ต้องมีการจดทะเบียน และเสียภาษีให้รัฐ ดังนี้
การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด สังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ในกรณีจะขายห้องชุดหรือสังหาริมทรัพย์ ถ้าห้องชุด หรือทรัพย์สินพังกล่าวยังติดจำนองธนาคารอยู่ ผู้ขายจะต้องจัดการไถ่ถอนจำนองให้เรียบร้อยก่อนวันทำสัญญาซื้อขายหรือไม่ หรือสามารถเชิญธนาคารที่รับจำนองต่อไปทำเรื่องไถ่ถอนจำนองในวันที่ทำสัญญาซื้อ-ขายได้เลย โดยมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้ อันดับแรก ต้องทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายก่อน แล้วค่อยไปทำเรื่องไถ่ถอนจำนอง ถ้าซื้อเงินสด ก็โอนเป็นของผู้ซื้อได้เลย แต่ถ้าผู้ซื้อจะกู้ต่อกับธนาคารเดิม (ผู้ซื้อ) ก็ต้องไปทำเรื่องยื่นกู้ก่อนถ้าธนาคารอนุมัติ ธนาคาร ผู้จะขาย และผู้จะซื้อก็ไปทำเรื่องไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดินได้เลย แต่ถ้าใน กรณีผู้จะซื้อยื่นกู้กับธนาคารใหม่ ผู้จะขายก็ติดต่อทำเรื่องขอไถ่ถอนกับธนาคารเดิม ส่วนผู้จะซื้อก็ทำเรื่องขอกู้กับธนาคารใหม่เมื่อตกลงกันเรียบร้อยแล้วให้ทุกฝ่าย คือ ธนาคารเดิม ธนาคารใหม่ ผู้จะซื้อ และผู้จะขาย ก็นัดไถ่ถอนและจดจำนองใหม่ที่สำนักงานที่ดินได้เลยเหมือนกัน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยสอบถามจากธนาคารได้เลย
การซื้อบ้าน หรือคอนโด ฯ สิ่งที่ต้องคำนึงให้มากได้แก่ กรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของ ไม่ว่าจะซื้อด้วยเงินสด หรือเงินกู้ เพราะเอกสารสิทธิ์ที่เรียกว่าโฉนดนั้นมีคามสำคัญอย่างมาก เพื่อแสดงว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้าง หรือที่ดินแปลงนั้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง