ในที่สุดกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็คลอดออกมาแล้ว หลังจากที่ยื้อกันมาหลายปี เรียกว่าเป็นกฎหมายที่ใช้เวลาพิจารณานานที่สุดในประวัติศาสตร์ ยาวนานกว่า 2 ปี ที่ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ต้องค้างอยู่ในการพิจารณา สนช. ใช้เวลารวมกว่า 9 ครั้ง ทั้งนี้ได้มีการปรับภาษีลงกว่า 40% โดยขยับเกณฑ์บ้านหลังแรก จากเดิมยกเว้น 20 ลบ. ไปเป็น 50 ลบ. ที่ดินรกร้างไม่ใช่ประโยชน์คิดเป็น 3% โดยแบ่งประเภทที่ดิน 4 ประเภท
1.ที่อยู่อาศัย
มูลค่าที่ดินบ้านต้องไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่หากมีมูลค่ากว่า 50 ล้านบาทขึ้นไป ต้องเสียภาษีในอัตรา 1 ล้านบาทต่อ 200 บาท สำหรับคนที่มีบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป ทุก ๆ 1 ล้านบาท ต้องเสียภาษี 200 บาท โดยเฉพาะผู้ที่ทำอสังหาฯ ปล่อยเช่า ส่วนตรงนี้ เจ้าของที่ดิน ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย หรือแล้วแต่สัญญาที่ตกลงกันในการเช่า เก็บไม่เกิน 0.3%
- มูลค่าไม่ถึง 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02% ล้านละ 200 บาท
- มูลค่า 50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% ล้านละ 300
- มูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% ร้อยละ 500 บาท
- มูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1% ร้อยละ 1,000 บาท
กรณีบ้านหลังหลักที่เป็นเจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดิน ได้รับการยกเว้นภาษี 50 ล้านบาทแรก ส่วนกรณีเป็นเจ้าของเฉพาะบ้านอย่างเดียวจะได้รับการยกเว้นภาษี 10 ล้านบาทแรก ราคาประเมิน 1 ล้านบาท (หลังที่ 2) 30 ปีจะเสียภาษี 6,000 บาท
2.เกษตรกรรม
ผู้ที่มีพื้นที่ดินทำเกษตรทำไร่ทำสวน หากมูลค่าเกินกว่า 50 ล้านบาท ขึ้นไป ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาทมาต้องเสียภาษีอัตรา 1 ล้านบาท ต่อ 100 บาท ยกเว้นสามปีแรกไม่ต้องเสียภาษี สำหรับการใช้ที่ดินเพื่อทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่ประกาศกำหนด
- มูลค่า 0-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% ล้านละ 100 บาท
- มูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% ล้านละ 300 บาท
- มูลค่า 100-500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% ล้านละ500 บาท
- มูลค่า 500-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07% ล้านละ 700 บาท
- มูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1% ล้านละ 1,000 บาท
ราคาประเมิน 1 ล้านบาท 30 ปี จะเสียภาษีรวม 3,000 บาท ยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดา สำหรับมูลค่าที่ดิน 50 ล้านบาทแรก พร้อมทั้งยกเว้นการจัดเก็บภาษีกับบุคคลธรรมดาใน 3 ปีแรกที่กฎหมายบังคับใช้
3.ที่ดินพาณิชย์-อุตสาหกรรม
จัดเก็บอัตราชั้นบันได สูงสุดไม่เกิน 0.7 ของราคาประเมิน แต่โรงพยาบาล, สนามกีฬา, สนามกอล์ฟ, สถานศึกษาเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 90% ของราคาประเมิน
- มูลค่า 0-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3% ล้านละ 3,000 บาท
- มูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4% ล้านละ 4,000 บาท
- มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5% ล้านละ 5,000 บาท
- มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6% ล้านละ 6,000 บาท
- มูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.7% ล้านละ 7,000 บาท
- ราคาประเมิน 1 ล้านบาท 30 ปี จะเสียภาษีรวม 90,000 บาท
4.ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
เก็บในอัตราตั้งแต่ 0.3 – 3% ของราคาประเมิน และทุก 3 ปี ต้องเสียเพิ่ม 0.2 – 0.3 % ต่อเนื่องไม่เกิน 27 ปี หรือจนกว่าจะมีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน แต่โดยรวมแล้วไม่เกิน 3% ยกเว้นเกษตรกรที่มีภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท ราคาประเมิน 1 ล้านบาท หากปล่อยร้าง 30 ปี จะต้องเสียภาษีอย่างต่ำ 495, 000 บาท
ทั้งนี้ต้องมีการชำระเสียภาษีทุกปี ทุกเดือนพฤษภาคม หากไม่ชำระตามเวลา ต้องเสียค่าปรับ 40 % ของภาษีที่ค้างชำระ หากไม่ชำระ ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 1% ต่อเดือน และหากไม่ชำระภายใน 90 วัน นับจากการแจ้งเตือน ถ้าไม่ไปเสียค่าปรับจะมีหนังสือ ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินค้า เพื่อให้มาเสียค่าปรับค่าค้างชำระโดยไม่ต้องขอให้ศาลสั่ง
ส่วนทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นและไม่โดนเก็บภาษี จะเป็นพวกสาธารณสมบัติของแผ่น ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์ และทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้หาผลประโยชน์ สถานทูต ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย ศาสนสมบัติที่ไม่ได้หาผลประโยชน์ ทรัพย์สินส่วนกลางอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร และที่ดินนิคมอุตสาหกรรม และนี้คือมาตรการที่มีการปรับใช้ ซึ่งจะมีผลใน 1 มกราคม 2563 นี้