ค่าจดทะเบียนจำนอง
เรื่องที่ดิน เป็นเรื่องใหญ่ ที่ดินเป็นทรัพย์สินของผู้ครอบครองที่สามารถนำไปทำนิติกรรมกับทั้งธนาคาร สถาบันการเงิน หรือกับบุคคลธรรมหรือนิติบุคคลก็ได้ มีหลายวิธี เช่น ให้เช่า ขาย จำนอง ขายฝาก หรือโอนให้เป็นมรดก และอื่น ๆ ตามแต่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จะเห็นสมควร ซึ่งการกระทำดังกล่าวทั้งผู้ครองกรรมสิทธิ์ และผู้ต้องการจะต้องไปทำนิติกรรมพร้อมกันที่กรมที่ดิน และต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน ต่าง ๆ ดังนี้
ค่าธรรมเนียมในการจดจำนอง ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนและค่าอากรแสตมป์
- ค่าคำขอจดทะเบียนแปลงละ 5 บาท
- ค่าจดทะเบียน ร้อยละ 1 บาท ไม่เกิน 200,000 บาท
เมื่อคู่กรณีไปถึงสำนักงานที่ดิน ขั้นตอนที่ 1
- ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของสำนักงานที่ดิน
- เพื่อขอคำแนะนำ
- ตรวจสอบหลักฐานเอกสารต่าง ๆ
- รับบัตรคิวตามลำดับก่อนหลัง
ขั้นตอนที่ 2
- ยื่นหลักฐานเอกสารต่าง ๆให้เจ้าหน้าที่สอบสวนตามช่องหมายเลขที่ระบุไว้ในบัตรคิว
ขั้นตอนของเจ้าหน้าที่
- ตรวจสอบสาระบบที่ดินและหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
- รับคำขอและสอบสวนคู่กรณีตามลำดับในบัตรคิว
- ตรวจอายัด คือ ตรวจดูว่ามีผู้ของดให้ทำเรื่องต่างๆไว้ก่อนหรือไม่
- ประเมินราคาทุนทรัพย์สำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
- ทำสัญญาและแก้ทะเบียนในโฉนดที่ดิน
ขั้นตอนที่ 3
- คิดคำนวณค่าธรรมเนียมภาษีต่าง ๆ
- ชำระค่าธรรมเนียมและภาษีอากรต่าง ๆ
ขั้นตอนของเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียน
- ตรวจสอบเรื่องทั้งหมด
- คู่กรณีลงนามในสัญญาหรือบันทึกตามข้อตกลง
- เจ้าหน้าที่พนักงานที่ดินลงนามจดทะเบียนในสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงในโฉนดที่ดิน
- ประทับตรา
ขั้นตอนที่ 4
- แจกโฉนดและสัญญา
- โปรดตรวจสอบเอกสารความถูกต้องในโฉนดที่ดิน และสัญญาด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น ชื่อตัว ชื่อสกุล อายุ ชื่อบิดา ชื่อมารดา ที่อยู่ก่อนกลับ
เป็นอันว่าเสร็จขั้นตอนการทำงาน