ความแตกต่างของการ จำนองกับสถาบันการเงินและ จำนองกับนายทุน
1.กรณีจำนองกับแบงค์ หรือสถาบันการเงินจะมีขั้นตอนที่แต่ละสถาบันการเงินกำหนดไว้ ตั้งแต่เตรียมเอกสาร,ยื่นขอสินเชื่อ,รออนุมัติ,นัดทำสัญญา ซึ่งขั้นตอนต่างๆใช้เวลานานพอสมควรอาจเป็นเดือนหรือหลายเดือนในกรณีที่ยื่นเอกสารไม่ครบ เป็นต้น หรือเมื่อรอแล้วคุณสมบัติอาจไม่เพียงพอแก่การอนุมัติสินเชื่อก็เป็นไปได้ ส่วนการจำนองกับนายทุนนั้นไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรมากมาย ไม่ต้องตรวจสอบเอกสาร หรือเครดิตบูโร และไม่ต้องใช้ผู้ค้ำประกัน เพียงแค่แจ้งว่าหลักทรัพย์เป็นอะไร,อยู่ที่ไหน, ใช้เงินเท่าไร หากมีความเป็นไปได้ก็นัดกันดูหลักทรัพย์ แล้วไปทำการจดจำนองที่สนง.ที่ดินได้ทันที ซึ่งดำเนินการเสร็จภายในวันเดียวได้รับเงินทันที ดังนั้นกรณีผู้ที่รีบใช้เงินจึงมักจะใช้วิธีนี้กันค่ะ ซึ่งนี่เป็นจุดแข็งของการจำนองบ้านกับนายทุน
2.การจำนองกับสถาบันการเงิน เนื่องจากแบงค์เองก็ต้องแข่งขันกันเองในการปล่อยสินเชื่อโดยมีเรื่องอัตราดอกเบี้ยเป็นข้อจูงใจ ดังนั้นแน่นอนอัตราดอกเบี้ยสถาบันการเงินจึงต่ำกว่าจำนองกับนายทุน
3.วงเงินที่ได้จากการจำนองกับบุคคลหรือนายทุน จะได้ประมาณ 30 % – 50% หรือมากน้อยกว่านี้ก็ขึ้นกับความไว้เนื้อเชื่อใจและการพิจารณาของนายทุน ส่วนการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ก็แล้วแต่นโยบายหรือว่าอยู่ในช่วงเวลาที่แต่ละสถาบันการเงินกำหนด และทำการตลาดของแต่ละสถาบันการเงิน ณ.ช่วงเวลานั้นๆ
การจำนองหากผู้กู้บิดพลิ้วไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ต้องบังคับจำนองโดยการร้องต่อศาลให้สั่งยึดทรัพย์และนำไปขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดี แล้วจึงนำเงินที่ขายได้มาคืนหนี้ที่จำนองซึ่งต้องใช้เวลาและขั้นตอนตามกฎหมาย ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทำให้นายทุนไม่นิยมทำกัน เพราะกว่าจะได้เงินคืนกลับมาต้องใช้เวลานานนั่นเอง