จุดมุ่งหมายการจำนองและขายฝากที่แตกต่างกัน
จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน คงมีผู้ที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หลายคนที่นำอสังหาริมทรัพย์เหล่านั้นมาจำนองและขายฝากเพื่อนำไปใช้จ่ายหรือลงทุนทำการค้าต่างๆ โดยจุดมุ่งหมายในการทำสัญญาทั้ง 2 แบบก็แตกต่างกัน ดังนี้
- สัญญาจำนองเป็นสัญญาที่ลูกหนี้ไม่ต้องโอนทรัพย์ไปอยู่ในมือเจ้าหนี้
- สัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่ลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์ไปอยู่ในมือเจ้าหนี้
ในการทำสัญญาจะต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่พนักงาน ณ กรมที่ดินเท่านั้น ส่วนในเรื่องของระยะ เวลาในการทำสัญญานั้น สัญญาจำนองจะตกลงทำเวลาที่จะชำระหนี้คืน พร้อมสินไถ่ ตามที่ตกลงกันส่วนสัญญาขายฝากจะตกลงทำเวลาที่จะชำระหนี้คืน พร้อมสินไถ่ ตามที่ตกลงกัน แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี
ในกรณีทำผิดสัญญาสัญญาจำนอง เมื่อครบสัญญาแล้ว สามารถจ่ายดอกเบี้ย เพื่อต่อเวลาได้อีกไม่เกิน 5 ปี หรือผู้รับจำนองจะฟ้องศาลเพื่อบังคับจำนอง แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขาย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ซึ่งระหว่างที่โดนฟ้องบังคับจำนอง ที่ดินนั้นๆ จะไม่สามารถนำมาขายเองได้ ส่วนสัญญาขายฝาก ลูกหนี้ต้องมาไถ่ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หากเลยกำหนดเวลา ตามกฎหมายสามารถขยายเวลาขายฝากได้ กี่ครั้งก็ได้ ครั้งละนานเท่าใดก็ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี
ส่วนในเรื่องวงเงินขายฝาก จำนองนั้น ก็จะแตกต่างกัน ดังนี้ สัญญาจำนองส่วนใหญ่จะได้วงเงินประมาณ 30% ของราคาประเมิน ส่วนสัญญาขายฝากจะได้วงเงิน 40-70% ของราคาประเมิน
จากประเด็นความแตกต่างของการทำสัญญาทั้ง 2 แบบ คงจะทำให้ท่านเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตัดสินในได้ว่าจะเลือกที่จะทำสัญญาแบบไหนให้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการและสุดท้ายก็สามารถไถ่ถอนได้ตามสัญญา