สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับปรุงโครงสร้างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีดังนี้
1. ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ กล่าวคือ ผู้มีทรัพย์สินมูลค่าสูงมีภาระภาษีมากกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าต่ำ
2. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี ลดการใช้ดุลยพินิจ กระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ลดปัญหาการกักตุนที่ดินเพื่อเก็งกำไรและกระจายการถือครองที่ดิน
3. ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หลังจากที่ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีผลบังคับใช้ในปีแรก กระทรวงการคลัง คาดว่าจะทำให้ท้องถิ่นมีรายได้จากการจัดเก็บภาษี 64,290 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 38,318 ล้านบาท (ภาษีโรงเรือนและที่ดิน-ภาษีบำรุงท้องที่)
4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารงานของ อปท. มากขึ้น