มรดกไม่เกิน 100 ล้านบาท ลูกหลาน ไม่ต้องเสียภาษีมรดก แต่ถ้าเคยได้รับมรดกจากใครมาแล้ว เช่น ครั้งแรก ได้รับมรดกจากบิดามาแล้ว 70 ล้านบาท ต่อมาอีก 2 ปี มารดาเสียชีวิต จึงได้รับมรดกจากมารดาอีก 50 ล้านบาท กรณีเช่นนี้ ถือว่า บุคคลผู้นั้นได้รับมรดกจากบิดา 70 ล้านบาท นำมาบวกกับที่ได้รับจากมารดาอีก 50 ล้านบาท ก็ถือว่าได้รับมรดกมาทั้งหมดรวมเป็น 120 ล้านบาท ในส่วนของ 20 ล้านที่เกินจาก 100 ล้านบาท ดังกล่าวนี้ จะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีมรดก มรดกนั้น หมายรวม ทั้งทรัพย์สิน หนี้สินกรรมสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ ของเจ้ามรดกด้วย
* เจ้ามรดกที่เสียชีวิตก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 มรดกดังกล่าว ไม่ต้องเสียภาษี
* คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับมรดก ไม่ต้องเสียภาษี
* ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ที่เป็นบุคคลธรรมดา เเละนิติบุคคล ซึ่งได้รับมรดก ทั้งจากในประเทศ และนอกประเทศ ก็ต้องเสียภาษีมรดก แต่จะเสียภาษีเฉพาะในส่วนที่ได้จากประเทศไทยเท่านั้น
* บุคคลต่างด้าวที่ได้รับมรดก ซึ่งอยู่ในประเทศไทย จะต้องเสียภาษีมรดกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ตาม เฉพาะทรัพย์มรดกที่อยู่ในประเทศไทยทั้งหมด
หากเป็นที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้ราคาประเมินของกรมที่ดินเป็นหลัก ที่ดินที่ว่างเปล่า เมื่อถนนตัดผ่าน ราคาอาจเพิ่มสูงมากขึ้น ทั้งนี้เมื่อราคาประเมินรวมเกิน 100 ล้านบาท เมื่อใด ผู้รับมรดกก็จะต้องเสียภาษีมรดกตามราคาประเมินใหม่ ทั้งนี้สินทรัพย์อื่นๆ แต่ละประเภท สามารถดูราคาประเมินสินทรัพย์ได้จาก
– หุ้น : ดูตามราคาตลาด ณ วันที่รับมรดก
– เงินฝากในธนาคาร และเอกสารการให้กู้ยืมต่างๆ ณ วันเจ้ามรดกตาย
– ยานพาหนะ ใช้ราคาประเมินสูงสุด และ ต่ำสุด มาหารเฉลี่ย
– ทรัพย์สินอื่นๆ เช่น งาช้าง หุ้นของบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ ทรัพย์สินทุกอย่าง ต้องประเมินราคาใหม่ทั้งหมด
ในส่วนทรัพย์สินที่ไม่มีหลักฐาน ไม่ต้องเสียภาษี มรดก เช่น ทองคำ เพชรพลอย พระเครื่อง ฯลฯ เนื่องจากไม่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ แต่หากมีหลักฐานว่า ผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ เมื่อเป็นมรดก ก็ต้องประเมินมูลค่าทรัพย์สินนั่นๆ เพื่อการเสียภาษีมรดก เช่นเดียวกันซึ่งจะเรียกว่า “ภาษีการรับให้” ซึ่งจัดเก็บในขณะมีชีวิตอยู่ เช่นพ่อยกทองคำให้ลูก มูลค่า 20 ล้านบาท ลูกต้องเสียภาษีนี้ 5% ถ้าไม่เสียต้องนำไปรวมกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปลายปี แต่ต้องเสียในอัตรา 5-35% แต่ถ้าให้แบบอุปการะ ให้ตามประเพณี งานแต่ง งานบ้านขึ้นบ้านใหม่ เสียภาษีไม่เกิน 10% เช่นได้เพชรมาในงานแต่ง 100 ล้านบาท เจ้าสาวต้องเสียภาษี 10% ถ้าสินสอด 10 ล้านบาทก็เสียภาษี 5%
ถ้าทรัพย์สินนั้นเป็นอสังหาฯ พ่อแม่ให้ลูกโดยไม่มีค่าตอบแทน มูลค่า 20 ล้าน ถ้าเกิน 20 ล้านลูกเป็นผู้รับต้องเสียภาษี กรณีพ่อเล่นกองทุน มีการกำหนดลงทุนชั้นต่ำ 30 ล้าน หรือ50ล้าน จะต้องเสียภาษี กฎหมายกำหนดไว้ไม่เกิน 20 ล้านเท่านั้น ในกรณีแบบนี้ เช่นพ่อลงทุนในกองทุนไว้ 30 ล้าน พ่อจะมอบให้ลูกแค่ 20 ล้านบาท ส่วนอีก 10 ล้าน ทำเป็นสัญญาให้ลูกกู้ยืม ซึ่งปัจจุบันเงินกู้บุคคลธรรมดา ไม่ได้มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องคิดดอกเบี้ย พอไม่มีดอกเบี้ยคนให้กู้ก็ไม่ต้องเสียภาษี
ในเรื่องภาษีมรกดนี้ หากมีการยกสินทรัพย์ให้สาธารณะกุศล เพื่อการศึกษา ให้รัฐบาลจะไม่เสียภาษี แต่ถ้ายกให้มูลนิธิหรือครอบครัวต้องมีการเสียภาษี เมื่อหักลบหนี้สิน แล้วเหลือมูลค่าเกิน 100 ล้าน ต้องเสียภาษีมรกด
*ผู้สืบสันดาน หรือ บุพพการี ลูกหลานที่ได้รับมรดกมา จะต้องเสียภาษี 5% หากผู้อื่นเป็นผู้รับมรดก ผู้อื่นนั้นจะต้องเสียภาษี 10% ของทรัพย์สินส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทแรก
* คู่สมรส ไม่ต้องเสียภาษีมรดก ไม่ว่า จะเป็นจำนวนทรัพย์มรดกเท่าไร
* ภาษีที่จ่าย ต้องจ่ายเป็นเงินสด เช่นเป็นที่ดิน ที่ยังขายไม่ได้ แบบนี้เรียกว่าเป็นทุกขลาภของผู้รับมรดก ต้องยื่นแบบการเสียภาษีมรดกภายใน 150 วัน นับแต่เจ้ามรดกตาย ผู้ได้รับมรดกอาจเป็นลูกหลาน จะอ้างว่าไม่ทราบที่ต้องยื่นแบบประเมินเพื่อเสียภาษี จึงไม่ได้ยื่น จะอ้างแบบนี้ ไม่ได้ เพราะกฎหมายภาษีมรดกนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว ถือเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนต้องรู้และปฎิบัติ ดังนั้นผู้ได้รับมรดก ต้องไปยื่นแบบที่สรรพากรเขตพื้นที่เพื่อทำการเสียภาษี
และต้องยืนแบบเสียภาษีภายใน 150 วัน หากยื่นสินทรัพย์น้อยกว่าความจริง จะถูกเบี้ยปรับเพิ่มเท่ากับ 0.5 เท่าของมรดก หากไม่ไปยื่นแบบเสียภาษีมรดก จะเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของมรดกและจะเสียเงินเพิ่มอีก 0.5 เท่าของมรดกอีกด้วย หากผู้รับมรดก ไม่เสียภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียดอกเบี้ยอีก 1.5% ต่อเดือน
ดังนั้น ทุกคนที่มีสินทรัพย์ ต้องทำบัญชีทรัพย์สินของตนว่ามีทั้งหมดเท่าไร เป็นเงินฝากประจำ เงินฝากเผื่อเรียก หุ้นกู้ หุ้นสามัญ รถยนต์ บ้าน ที่ดิน ฯลฯ และต้องปรับปรุงเป็นระยะๆ อย่างน้อยทุกๆ 1 ปี เพราะมูลค่าทรัพย์สินมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะที่ดินรกร้าง ต้องเสียภาษีอัตราสูงถึง 3% ต่อไป จากราคาประเมิน และราคาประเมินนี้จะปรับขึ้นทุกปี แน่นอนว่า จะทำให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน
นอกจากเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และดอกเบี้ย แล้ว ยังมีโทษทางอาญาด้วย ถ้ามีการซ่อนเร้นทรัพย์มรดก ไม่จดแจ้งมรดกที่ตนได้รับมา ทางสรรพากร ยอมให้ผ่อนชำระภาษีมรดกได้ไม่เกิน 2 ปี ที่ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ถ้าเกิน 2 ปี ต้องเสียดอกเบี้ยด้วย
ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้น ไม่โดนเก็บภาษีที่ดิน
สำหรับทรัพย์สินที่จะไม่โดนเก็บภาษีจะมีด้วยกัน ดังนี้
1. สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
2. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์
3. ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์
4. ที่ทำการองค์การสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ
5. สถานทูต หรือสถานกงสุลต่างประเทศ
6. ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย
7. ศาสนสมบัติที่ไม่ได้หาผลประโยชน์
8. ทรัพย์สินที่ใช้เป็นสุสานสาธารณะ หรือฌาปนสถานสาธารณะ
9. มูลนิธิหรือองค์การที่ประกอบกิจการสาธารณะ
10. ทรัพย์สินของเอกชน ที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
11. ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด และหมู่บ้านจัดสรร
12. ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม