คู่สัญญาจะกำหนดระยะเวลาในการไถ่ทรัพย์สินคืนไว้นานเท่าไรก็ได้ ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
ก. อสังหาริมทรัพย์ จะกำหนดเกินกว่า 10 ปี ไม่ได้
ข. สังหาริมทรัพย์ จะกำหนดเกินกว่า 3 ปี ไม่ได้
ค. ถ้ากำหนดไว้นานกว่า ก,ข ให้ลดเวลาลงมาเหลือตาม ก,ข
ง. ถ้ากำหนดเวลาไว้ต่ำกว่า ก, ข ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนด แต่คู่สัญญาอาจตกลงกันขยายกำหนดเวลาไถ่ (กี่ครั้งก็ได้) โดยเมื่อขยายแล้วกำหนดเวลาต้องไม่เกินกว่า ก,ข
การขยายเวลาไถ่ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่
- กฎหมายมิได้บังคับว่าสัญญาขายฝากจะต้องกำหนดระยะเวลาไถ่ทรัพย์สินคืนไว้ในสัญญา แม้ในสัญญาไม่ได้กำหนดเวลาไถ่คืนไว้ก็เป็นสัญญาขายฝากได้ เพราะหากไม่กำหนดระยะเวลาไถ่ทรัพย์สินไว้ก็จะต้องบังคับไปตามมาตรา 494 คือ ต้องไถ่ทรัพย์สินคืนภายใน 10 ปี หรือ 3 ปีนับแต่เวลาซื้อขายฝาก
- การใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินภายในกำหนดระยะเวลา หมายถึง ผู้ขายฝากสามารถใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนได้ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาไถ่นั้นเอง
- กำหนดเวลาไถ่นั้นอาจทำสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ได้ แต่กำหนดเวลาไถ่รวมกันทั้งหมดถ้าเกินกำหนดเวลาตามมาตรา 494 ให้ลดลงมาเป็นกำหนดเวลาตามมาตรา 494
- การขยายกำหนดเวลาไถ่ตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่