การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน
และการกระทำนั้นมีผลทางกฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง
หนังสือมอบอำนาจ มีอยู่ 2 แบบ สำหรับ ที่ดินมีโฉนดแล้ว แบบหนึ่ง กับ ที่ดินที่ยังไม่มีโฉนด (หรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น บ้านอย่างเดียว)
อีกแบบหนึ่ง หากจะใช้กระดาษอื่นควรเขียนข้อความอนุโลมตามแบบพิมพ์ของกรมที่ดิน เพราะจะได้รายการที่ชัดเจนและถูกต้อง
(ดาวน์โหลดแบบพิมพ์ใบมอบอำนาจของกรมที่ดินได้ที่ www.dol.go.th)
ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจที่ดิน ทด.21
วิธีการเขียนใบมอบอำนาจ จะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ให้กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น ตึก บ้าน เรือน โรง ให้ชัดเจน
- ให้ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อ ขาย จำนอง ขายฝาก ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษที่เพิ่มเติมก็ระบุไว้ด้วย (อย่าลงลายมือชื่อโดยไม่กรอกข้อความ)
- อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกัน ถ้าใช้พิมพ์ดีด ก็ต้องเป็นเครื่องเดียว กัน
- ถ้ามีรอยขูด ตกเติม แก้ไข หรือขีดฆ่า ให้ระบุว่าขีดฆ่า ตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจลงลาย มือชื่อกำกับไว้ทุกแห่ง
- อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจก่อนกรอกข้อความโดยครบถ้วนและถูกต้องตามความประสงค์แล้ว
- ให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือ ต้องมีพยาน 2 คน พยานต้อง ลงลายมือชื่อจะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้
-
หนังสือมอบอำนาจทำในต่างประเทศ ควรให้สถานทูตหรือสถานกงสุล หรือโนตารีบับลิค(NOTARYPUBLIC)รับรองด้วย กรณีที่ผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของทั้งของฝ่ายโอนและผู้รับโอน ดังนี้ ต้องระบุไว้ในหนังสือ มอบอำนาจด้วยว่า ยินยอมให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งได้ด้วย