สัญญาขายฝากเสียเปล่า
ทำสัญญาขายฝากทั้งทีก็ต้องดูให้มันดีๆ มิฉะนั้นมันจะเสียเปล่า
สำหรับใครก็ตามที่ต้องการจะทำสัญญาขายฝากนั้นก็จะต้องดูรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ ให้ดี ไม่ว่าจะเรื่องของวัตถุประสงค์หรือเรื่องของทางกฎหมายก็ตาม เพราะมิฉะนั้นแล้วถ้าเราทำสัญญากันเรียบแล้วและเกิดไปขัดเรื่องของข้อกฎหมายเข้านั้นก็เท่ากับว่า สัญญาขายฝากเสียเปล่า ไปในทันที ซึ่งคำว่า เสียเปล่านั้นก็หมายถึงว่าไม่สามารถบังคับกันได้ตามกฎหมายนั่นเอง
อย่างเช่น ในเรื่องของแบบสัญญาขายฝากนั้น ถ้าหากเป็นในกรณีขายฝากอสังหาริมทรัพย์นั้นก็จะต้องมรการทำเป็นหนังสือและก็ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือถ้าหากเป็นการขายฝากสังหาริทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไปนั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เหมือนกับการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ แต่ทว่าเรานั้นจะต้องมีการทำเป็นหนังสือสัญญาขายฝากกันขึ้นมาด้วยถึงจะฟ้องร้องบังคับกันได้ หรือแม้กระทั่งในกรณีที่มีการตกลงกันว่าจะไถ่ได้ภายในระยะเท่านี้แต่พอถึงระยะเวลานั้น ทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากอาจจะตกลงกันขยายระยะต่อไปอีกก็ได้
ซึ่งการขยายระยะเวลาไถ่นั้นแน่นอนว่าตามกฎหมาย ถ้าหากเป็นอสังหาริมทรัพย์จะรวมระยะเวลาไถ่ทั้งหมดแล้วเกิน 10 ปีไม่ได้ ส่วนถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์เมื่อรวมระยะเวลาทั้งหมดแล้วก็จะเกิน 3 ปีไม่ได้ ถึงถ้าหากว่าเกินระยะเวลาที่ได้กล่าวไปนั้นก็ให้ลดลงมาตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนระยะเวลาที่เกินก็จะนำมาใช้บังคับไม่ได้ถือว่าเสียเปล่า ตัวอย่างมานี้ถ้ามีเรื่องใดแปลกแตกต่างไปนั้นถือว่าเป็น สัญญาขายฝากเสียเปล่า
สัญญาขายฝากเพิ่มเติม ข้อควรทราบเกี่ยวกับสัญญาขายฝากที่ดิน