ข้อตกลงไม่ให้ผู้ซื้อฝากจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายฝาก กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขายฝาก ต้องบอกเลยว่าส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ที่เกี่ยวกับการขายฝากดังนี้ โดยอย่างแรกก็คือ สัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งจะเป็นของผู้รับฝากซื้อทันทีที่จดทะเบียน โดยผู้ขายฝาก ก็จะได้เป็นสัญญากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตกเป็นของผู้รับซื้อฝาก ทันทีที่ได้รับการจดทะเบียน ผู้ขายฝากนั้นจะได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินกลับคืนนก็จะต้องขอไถ่ถอนในกำหนดสัญญาขายฝาก หรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยมีกรณีอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดสิบปี ตั้งแต่เวลาซื้อและขาย หรือกรณีสังหาริมทรัพย์มีกำหนดสามปี นับแต่เวลาที่ซื้อขาย สำหรับสัญญาขายฝาก ต้องมีกำหนดระยะเวลาในการไถ่คืนว่าจะเมื่อไรกันแน่ โดยจะกำหนดเวลาของการไถ่คืน เกินกว่าที่จะไถ่คืนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่หากว่าไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนหรือไถ่เกินกว่านั้น เป็นเวลาเป็นสิบปีหรือสามปี ก็ตามประเภทของทรัพย์สิน สำหรับการขยายกำหนดเวลาการไถ่นั้น ผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากจะทำสัญญาขยายเวลาไถ่กี่ครั้งก็ได้ แต่หากว่ารวมกันก็จะต้องไม่เกินสิบปีก็ได้ ตั้งแต่วันที่มีการทำสัญญาขายฝากนั่นเอง กระบวนการขายฝากหรือข้อตกลงไม่ให้ผู้ซื้อฝากจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายฝาก ก็จะทำให้ประชาชนที่ไปขายฝากมีการสูญเสียที่ดินและอาคารกันไป เพราะกฎหมายข้อนี้เป็นกฎหมายที่ต้องระวังมาก สำหรับการขายฝาก เป็นเรื่องของสัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงว่าผู้ขายจะต้องไถ่ทรัพย์สินนั้นนั่นเอง ก่อนทำสัญญาขายฝาก ต้องเข้าใจกำหนดเวลาไถ่ถอน
การขายฝาก เป็นสัญญาที่เจ้าหนี้ได้เปรียบกว่าลูกหนี้อย่างไร คุณทราบหรือไม่ว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี คนส่วนใหญ่ที่ตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ต่างก็นำทรัพย์สินของตนมาขายฝากหรือจำนอง แต่ด้วยการจำนองในช่วงที่เศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ที่ประชาชนมีรายได้ลดลง และธนาคารเข้มงวดในการปล่อยกู้ จึงทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องนำทรัพย์สินเหล่านั้นไปขายฝากกับบุคคลอื่น ทั้งนี้ หากนำอสังหาริมทรัพย์ไปทำการขายฝากจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานที่ดินและผู้ขายฝากจะต้องส่งมอบโฉนดที่ดินแก่ผู้ซื้อฝากด้วยเสมอ การขายฝาก เป็นธุรกรรมที่มักถูกนำมาทำเป็นธุรกิจในหมู่ประชาชนทั่วไป โดยนำมาประยุกต์ใช้กับการปล่อยกู้นอกระบบ แทนการ การเปลี่ยนจากการจำนองมาเป็นขายฝาก จะเป็นผลให้เจ้าหนี้อยู่ในฐานะได้เปรียบลูกหนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากหากลูกหนี้ผิดชำระหนี้ในกำหนดสัญญาเมื่อไหร่ กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์จะตกกลายเป็นของเจ้าหนี้โดยอัตโนมัติ สามารถนำไปขายต่อได้ในทันที ไม่ต้องไปฟ้องร้องให้ยุ่งยากและเสียเวลาเหมือนเช่นการจำนอง ผลตอบแทนที่น่าสนใจอีกด้านหนึ่งของการขายฝาก ก็คือโอกาสที่ผู้รับซื้อฝากจะได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาขายฝากในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมากๆ หากมีการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อใกล้จะครบกำหนดไถ่ในสัญญาเมื่อไหร่ ฝ่ายเจ้าหนี้จะไม่ต้องรีบเร่งในการทวงหนี้แต่ลูกหนี้จะเป็นฝ่ายต้องวิ่งเต้นหาเงินมาชำระหนี้ให้ทันตามกำหนดเพื่อจะได้ไม่ต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาขายฝากไว้ ทั้งนี้ หากอสังหาริมทรัพย์ที่ขายฝากมีค่าสูงกว่าหนี้มากเพียงใด ก็จะยิ่งทำให้ลูกหนี้ต้องรีบหาเงินมาไถ่ถอนคืนให้ได้ ก่อนทำสัญญาขายฝาก ต้องเข้าใจกำหนดเวลาไถ่ถอน
จำนองและขายฝากแตกต่างกันอย่างไร ในโลกปัจจุบันที่ทุกคนต่างก็มีค่าใช้จ่ายหรือภาระต่างๆ มากมายทำให้บางคนที่มีอสังหาริมทรัพย์ต้องการที่จะนำไปจำนองหรือขายฝากกัน แต่ก็มีหลายคนไม่ทราบถึงความแตกต่างและความหมายของ 2 คำนี้ดี จึงเลือกไม่ถูกว่าจะนำอสังหาริมทรัพย์ของตนไปจำนอง หรือขายฝากดี วันนี้เราหาคำตอบมาให้ ขายฝาก คือ การทำนิติกรรมการซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที แต่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ขายสามารถนำเงินมาไถ่ถอนทรัพย์สินของตนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยในส่วนของผู้ที่เป็นฝ่ายรับซื้อฝากนั้น ก็จะมีสิทธิที่จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการขายฝากสูงสุดถึง 15% ต่อปี หรือ 1.25 % ต่อเดือนและได้รับเงินจากการขายฝากคืนทันทีหากมีการไถ่ถอนเกิดขึ้น จำนอง คือ การทำนิติกรรมเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนอง โดยทรัพย์สินจะยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับจำนองโดยทันที หากผิดนัดชำระหนี้ต้องมีการฟ้องร้องบังคับคดีให้ทางศาลยึดทรัพย์ก่อน จากคำจำกัดความของการขายฝากและการจำนองเราจะเห็นว่า จุดเด่นการขายฝาก โดยรวมถือว่ามีข้อดีมากกว่าการจำนองทั้งในส่วนของผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก โดยในส่วนผู้รับซื้อฝาก จะเห็นว่าได้รับทรัพย์สินมาโดยตรง ไม่ต้องฟ้องร้องเมื่อผิดนัดชำระหนี้ ส่วนของผู้ขายฝาก ก็ยังมีโอกาสที่จะได้รับวงจากเงินขายฝากที่สูงกว่าหรือตามที่ตกลงกันระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก และยังสามารถไถ่ถอนคืนได้หากต้องการ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะนำทรัพย์สินของคุณไปขายฝากหรือจำนอง คุณก็ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะสถาบันหรือผู้ที่รับทรัพย์สินของคุณนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่คุณจะไม่เสียทรัพย์สินของคุณไปอย่างไม่ชอบธรรม จุดมุ่งหมายการจำนองและขายฝากที่แตกต่างกัน
หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินใหม่ คนจะขาย จะซื้อที่ดินต้องทราบ ใครที่กำลังต้องการซื้อ ขาย เช่า หรือให้เช่าที่ดิน เรามารู้จักเอกสารสิทธิเกี่ยวกับ “ที่ดิน” กันดีกว่า เพราะ ที่ดิน นับว่าเป็นทรัพย์สินที่มีค่า มีราคา ไม่ว่าจะใช้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้ในการเกษตรกรรม ใช้ในการอุตสาหกรรม ใช้เป็นหลักประกัน และอื่น ๆ นอกจากนี้ ที่ดินยังเป็นเครื่องแสดงฐานะความเป็นอยู่ ของแต่ละคนด้วยเหตุนี้ คนส่วนใหญ่จึงพยายามให้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินเป็นของตนเอง แม้ปัจจุบันที่ดินจะมีราคาแพงสักเพียงใดก็ตาม ก็จะพยายามหาเงินให้ได้เพื่อจะได้ซื้อที่ดินเป็นของตนเอง เอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดิน มีอยู่หลายประเภทที่ควรรู้ และที่สำคัญ เรามาทำความเข้าใจกันเลย ใบจอง คือ หนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งใบจองนี้จะออกให้แก่ราษฎรที่ทางราชการได้จัดที่ดินให้ทำกินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งทางราชการจะมีประกาศเปิดโอกาสให้จับจองเป็นคราว ๆ ในแต่ละท้องที่ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ คือ หนังสือรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว ใบไต่สวน คือ หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดินเป็นหนังสือแสดงให้ทราบว่าได้มีการสอบสวนสิทธิในที่ดินแล้ว สามารถจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ โฉนดที่ดิน คือ หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งออกให้ตามประมวลกฎหมายที่ดินปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เอกสารสำคัญทั้งหมดนี้แม้จะแสดงถึงการเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของท่าน แต่หากปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าไม่ทำประโยชน์ไว้นานตามกฎหมายกำหนด ท่านก็จะเสียสิทธิการครอบครอง ดังนั้นเมื่อที่ดินมีเอกสารสำคัญดังกล่าวอยู่ก็ควรทำประโยชน์และดูแลรักษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ดินก็จะเป็นของท่าน และเป็นมรดกที่มีค่าให้แก่ลูกหลานต่อไป โฉนดที่ดิน บอกอะไรเราบ้าง
รู้สักนิด โฉนดที่ดินมีรายละเอียดอะไรบ้าง ผู้ที่กำลังจะทำการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือเป็นเจ้าของ คุณทราบหรือไม่ว่าโฉนดมีรายละเอียดอะไรบ้าง หากยังไม่ทราบ เรามาเรียนรู้ถึงรายละเอียดของโฉนดกันดีกว่า เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการนำไปตรวจสอบความถูกต้องและไม่เกิดความผิดพลาด ตำแหน่งที่ดิน (มุมซ้ายบน) ระวาง จะบอกถึงหมายเลขแผ่นระวางแผนที่ซึ่งที่ดินตามโฉนดนั้นตั้งอยู่ โดยระวางแผนที่จะเป็นแผนที่ใหญ่ซึ่งจะรวมแปลงที่ดินทั้งหมดที่อยู่ในโซนที่ระบุเอาไว้ โฉนดที่ดิน (มุมขวาบน) เลขที่โฉนด แตกต่างจากเลขตำแหน่งที่ดิน เลขที่โฉนดจะถูกกำหนดในอำเภอหนึ่ง ๆ ให้แก่…สัญชาติ…บ้านเลขที่…(ที่อยู่)… เป็นการระบุตัวตนของเจ้าของที่ดินมือแรก โดยระบุชื่อของเจ้าของ สัญชาติ และที่อยู่ ข้อควรระวัง คือ ส่วนนี้ไม่ได้เป็นการบอกถึงเจ้าของที่ดินปัจจุบัน ชื่อเจ้าของที่ดินปัจจุบันต้องไปดูในสารบัญจดทะเบียน ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่ประมาณ… เป็นส่วนที่บอกถึงขนาดของแปลงที่ดิน ส่วนรูปแผนที่ เป็นรูปที่ดินที่ถูกย่อให้เล็กลง โดยย่อเป็นมาตราส่วนลงในรูปแผนที่ตามมาตราส่วน วันที่ออก เป็นวันที่ออกโฉนดที่ดินฉบับนี้ว่าออกให้ ณ วันที่เท่าไร ลงชื่อเจ้าพนักงานที่ดิน ในโฉนดที่ดินต้องมีการเซ็นชื่อเจ้าพนักงานที่ดินพร้อมประทับตราในทุกฉบับ ด้านหลังโฉนดจะมีรายการจดทะเบียนหลังโฉนด เป็นเหมือนประวัติบันทึกรายการจดทะเบียนนิติกรรม โดยด้านหลังของโฉนดที่ดินจะมีตารางการเปลี่ยนแปลงสิทธิ ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์คนปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวสิทธิ ภาระผูกพันที่มีการจดทะเบียนไว้ เช่น การซื้อขาย การให้ โอนมรดก การจำนอง ภาระจำยอมต่าง ๆ เป็นอย่างไรบ้างคะ ผู้ที่มีโฉนดที่ดินคงเข้าใจเนื้อหาสาระในโฉนดกันแล้ว ว่างๆ ก็ลองนำโฉนดที่ดินของคุณมาตรวจสอบความถูกต้อง หากมีข้อความใดผิดพลาดไป ก็รีบนำไปแก้ไขจะได้เกิดปัญหาตามมาในอนาคตได้ โฉนดชนิดต่าง ๆ
ติดบูโรจำนองได้มั้ย การติดเครดิตบูโร นั่นคือการที่เรามียอดหนี้เสียที่สถาบันการเงินได้ส่งข้อมูลให้ทางบริษัทเครดิตแห่งชาติ ทำให้ส่งผลต่อการพิจารณาการขอสินเชื่อของเราได้ แต่ในตอนนี้เราต้องการเงินลงทุนเพื่อทำธุรกิจและมีที่อยู่แปลงหนึ่งต้องการที่จะจำนอง แต่ไมแน่ใจว่า ติดบูโรจำนองได้มั้ย วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกัน รับรองว่าจะช่วยตอบคำถามให้คุณหายข้องใจได้แน่นอน ใครติดเครดิตบูโร และมีหลักทรัพย์ที่สามารถค้ำประกันได้ อาจมีคำถามว่า ติดบูโรจำนองได้มั้ย อยากให้คุณลองติดต่อกับสถาบันการเงินที่รับจำนองที่ดินดูก่อน อย่างเช่นพวกลิสซิ่งต่างๆที่มีการรับจำนองที่ดิน โดยลิสซิ่งเหล่านี้มักจะไม่ค่อยเช็คเครดิตบูโรเท่าไร เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลยที่คนติดบูโรจะสามารถกู้ผ่านบริษัทเงินด่วนแบบนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณได้รับเงินกู้แล้ว คุณจะต้องสร้างวินัยทางการเงินให้ตัวเองด้วย เพื่อคุณจะได้ส่งเงินกูในส่วนนี้ได้ และอาจจะหารายได้เสริมอีกทางด้วย เพื่อให้ได้เงินเพิ่มขึ้น เพียงพอที่จะใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วย อย่างไรก็ตาม ติดบูโรจำนองได้มั้ย ต้องบอกเลยว่าได้ คูณสามารถจำนองได้ เพียงแต่ต้องเลือกสถาบันการเงินพวกเงินด่วนที่สนใจในเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกันมากกว่า แต่การทำให้แบล็คลิสต์หายไปก็เป็นเรื่องที่คุณไม่ควรมองข้ามด้วยเช่นกัน เพราะในอนาคตเราอาจจะต้องไปกู้ยืมเงินจากสถาบันต่างๆเพื่อใช้ในอนาคตต่อไปก็ได้ เพราะในชีวิตของเราอาจจะต้องเจออะไรอีกมากเราจึงต้องพร้อมรับทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คำแนะนำเกี่ยวกับ การขายฝาก สำหรับผู้ขายฝาก
ไถ่ที่ดินคืนล่วงหน้า การไถ่ถอนที่ดินจากการขายฝาก สำหรับใครที่ยังไม่รู้ขั้นตอน วันนี้เรามีขั้นตอนในการไถ่ถอนที่ดินมาฝากกัน รับรองว่าคุณจะเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น สำหรับการไถ่ที่ดินคืนล่วงหน้าจากการขายฝากนั้น ผู้ขายฝากจะต้องนัดล่วงหน้า 3-5 วัน เพื่อนัดไถ่ถอนที่กรมที่ดิน และเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนแล้ว แต่ติดต่อผู้รับฝากซื้อไม่ได้ ก็สามารถนำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานที่ดิน เพื่อรักษาสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์ สำหรับระยะเวลาการไถ่ถอนคืน คือ จะต้องขายฝากอสังหาริมทรัพย์กำหนดไถ่ถอนไม่เกิน 10 ปีและการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ กำหนดไถ่ถอนภายในไม่เกิน 3 ปี โดยบุคคลที่มีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์สินที่ขายฝากคืน คือ ผู้ขายฝากหรือทายาทผู้ขายฝาก และยังมีผู้รับโอนสิทธิในการไถ่ถอนทรัพย์ที่ดิน และบุคคลที่ระบุไว้ในสัญญา สำหรับบุคลที่มีสิทธิให้ไถ่ถอนคืนได้ คือ ผู้รับฝากซื้อหรือถ้าผู้รับฝากซื้อขายก่อนที่จะครบกำหนดเวลาไถ่ ผู้ขาย ผู้ฝาก ต้องไปขอไถ่จากทายาทของผู้รับฝาก และผู้รับโอนทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นจากผู้ซื้อฝากเดิมดอกผลของทรัพย์สินที่ขายฝากที่เกิดขึ้นในการขายฝากดอกผลที่ขายฝากซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการขายฝากจะตกเป็นของผู้ซื้อฝาก และผู้ซื้อฝากเป็นคนออกค่าธรรมเนียม และทั้งหมดนี้ คือ วิธีการไถ่ที่ดินคืนล่วงหน้าจากการขายฝากที่คุณสามารรถเข้าใจได้ง่ายๆ และนำไปใช้เมื่อคุณต้องการไถ่ถอนที่ดินได้ แต่ต้องศึกษารายละเอียดก่อนที่จะไถ่ถอนคืน สิทธิ์ไถ่คืน
ซื้อทรัพย์หลุดขายฝากคืน สำหรับคนที่อยากซื้อทรัพย์หลุดขายฝากคืน และยังไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร อยากคุณได้ศึกษากฎหมายให้ดีเสียก่อน เพื่อให้คุณนั้นเข้าใจมากยิ่งขึ้น สำหรับกฎหมายการขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 – 502 ที่นำมาประกอบความรู้ในเรื่องซื้อทรัพย์หลุดขายฝากคืน สัญญาขายฝากคือ สัญญาที่กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินตกเป็นของผู้รับซื้อทันทีที่จดทะเบียน และผู้ขายฝากจะต้องไปไถ่ถอนในเวลาที่กำหนด หรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดนั่นคือ 3 ปี หรือ 10 ปี นับแต่เวลาที่ซื้อขาย และสัญญานั้นต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอนว่าจะไถ่คืนเมือไร แต่จะกำหนดเวลาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ หรือถ้ากำหนดไถ่เกินกว่านั้นจะให้ลดลงมาเป็น 10 ปีหรือ 3 ปี ส่วนการขยายกำหนดเวลาไถ่ ผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากจะทำสัญญาขยายเวลาไถ่กี่ครั้งก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 10 ปีและต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของ ผู้รับซื้อฝาก และต้องจดสัญญาขยายฝากต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ และจากการใช้สิทธิไถ่ถอนในกำหนด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งขายฝากจะตกเป็นของผู้ขายฝากตั้งแต่เวลาที่ผู้ขายฝากชำระสินไถ่หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ทรัพย์สินซึ่งไถ่นั้นผู้ไถ่ย่อมได้รับคืนโดยปลอดจากสิทธิใดๆ ซึ่งผู้ซื้อเดิม หรือทายาทหรือผู้รับโอนจากผู้ซื้อเดิมก่อให้เกิดขึ้นก่อนเวลาไถ่ ยกเว้นว่าจะเช่าทรัพย์สินที่อยู่ในระหว่างขายฝากซึ่งได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และการเช่านั้นไม่ทำให้ผู้ขายฝากหรือผู้ไถ่เสียหาย กำหนดเวลาเช่ามีเหลืออยู่แค่ไหนก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าหนึ่งปี ซื้อทรัพย์หลุดขายฝากคืน จึงเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว และเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเรียนรู้ไว้ด้วย การขยายระยะเวลาไถ่ถอนการขายฝาก
การต่อสัญญาขายฝาก เรื่องของการต่อสัญญาขายฝาก เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คุณควรศึกษาให้ดี เพราะว่ามีหลายครั้งที่ผู้ขายฝากไม่สามารถชำระได้ตรงตามกำหนด ทำให้สูญเสียทรัพย์สินของตนเองไป และสำหรับบางคนยังไม่มีเงินชำระเมื่อถึงกำหนดเวลาและต้องการที่จะต่อสัญญาขายฝาก แต่สุดท้ายแล้วทางผู้รับขายฝากกลับไม่ต่อสัญญาให้ แล้วเหตุผลที่ไม่ต่อสัญญาขายฝากคืออะไร การขายฝาก คือ การทำนิติกรรมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที แต่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ขายนำเงินมาไถ่ถอนทรัพย์สินของตนได้ในระยะเวลาที่กำหนด แต่เมื่อถึงคราวที่ต้องชำระเกิดมีปัญหาบางอย่างทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินได้ตามกำหนด แต่ต้องการการต่อสัญญาขายฝาก โดยเหตุผลหลักๆ คือ ผู้รับขายฝากไม่อยากทำรับขายฝาก และเห็นช่องทางการลงทุนอื่นๆที่น่าสนใจมากกว่า หรืออาจเกิดเหตุบางอย่าง เช่น ต้องการใช้เงินด่วน การลงทุนเป็นก้อนจมนาน หรือความไม่เข้าใจในเรื่องของการขายฝาก และการแก้ปัญหาของคนที่ขายฝาก คือ ต้องหาเงินมาไถ่ถอนทั้งที่ยังไมพร้อม และต้องหานายทุนคนใหม่ที่จะมารักสัญญาการขายฝากต่อ และยังต้องเจอกับค่าธรรมเนียมที่ต้องไปต่อสัญญากับคนใหม่ และไถ่ถอนออกจากคนเก่า ซึ่งอาจต้องใช้เงินถึง 13-15% ของราคาซื้อฝากที่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของกรมที่ดิน เป็นต้น เพราะฉะนั้นการต่อสัญญาขายฝากจึงขึ้นอยู่กับผู้รับขายฝากมากกว่า ถ้าเขาไม่พร้อมหรือมีเหตุผลบางอย่างเขาก็ไม่ต่อสัญญาให้กับคุณ คุณจึงต้องคิดให้รอบครอบก่อนที่จะขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ข้อควรทราบเกี่ยวกับสัญญาขายฝากที่ดิน
บ้านแลกเงิน การนำบ้านไปแลกเงิน เมื่อพูดถึงการเอาบ้านเข้าธนาคารเพื่อกู้เงินออกมา หลายคนคงมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะดูเหมือนจะมีขั้นตอนเยอะไปหมด เรื่องที่ต้องรู้ก่อนขอสินเชื่อบ้านแลกเงิน ทุกธนาคารมีสินเชื่อบ้านแลกเงิน แต่ดอกเบี้ยจะไม่เท่ากัน บางธนาคารดอกเบี้ย 5.5% ต่อปี บางธนาคารดอกเบี้ย 12.0% ต่อปี สมมติคุณกู้ 3,000,000 บาท – ถ้าเลือกได้ถูกที่ ดอกเบี้ย 5.5% ต่อปี คุณจะผ่อนแค่ เดือนละ 22,000 บาท – ถ้าเลือกผิดที่ ดอกเบี้ย 12.0% ต่อปี คุณจะผ่อนเดือนละ 35,000 บาท ดังนั้น ก่อนจะขอสินเชื่อบ้านแลกเงิน เราควรเปรียบเทียบให้แน่ใจก่อน ว่าธนาคารไหนดอกเบี้ยถูกที่สุด ขอแนะนำให้คุณมาลองเปรียบเทียบดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านแลกเงินที่ถูกที่สุดฟรี ไม่มีค่าบริการใด ๆ ขั้นตอนในการขอสินเชื่อบ้านแลกเงินมีอะไรบ้าง 1. ยื่นเอกสารให้ธนาคารพิจารณา คือเตรียมเอกสารเพื่อยื่นให้ธนาคารพิจารณา โดยสินเชื่อบ้านแลกเงิน มีรายการเอกสารคร่าว ดังนี้ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน + ทะเบียนบ้าน ของคู่สมรส (ถ้ามี) เอกสารแสดงรายได้ รายการเดินบัญชีธนาคารย้อนหลัง หนังสือแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ บางธนาคารอาจขอเอกสารเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาเป็นกรณีไป 2. ประเมินราคาหลักประกัน หลังจากธนาคารพิจารณาและอนุมัติเบื้องต้นแล้ว ก็จะส่งทีมมาประเมินราคาหลักประกัน เพื่อนำไปคำนวณวงเงินให้สินเชื่อ 3. ธนาคารอนุมัติ พร้อมแจ้งวงเงินและอัตราดอกเบี้ย ในขั้นตอนนี้ เราจะต้องเลือกว่าจะรับวงเงินนี้หรือไม่ 4. เซ็นสัญญากับธนาคาร + สัญญาจำนอง ทั้งหมดนี้ก็คือ ขั้นตอนการขอสินเชื่อบ้านแลกเงิน ซึ่งจะเห็นว่าการขอสินเชื่อไม่ได้ซับซ้อนอะไร จะมีเรื่องยากอย่างเดียวก็คือการหาว่าธนาคารไหนให้สินเชื่อบ้านแลกเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่บ้าง และที่ไหนดีที่สุด จะรู้ได้อย่างไรว่าบ้านแลกเงินธนาคารไหนดีที่สุด ขอแนะนำให้ใช้เครื่องทุ่นแรง อย่างเว็บไซต์เปรียบเทียบสินเชื่อบ้านแลกเงิน ที่ให้บริการฟรี ซึ่งมีข้อมูลจากธนาคารกว่า 15 ธนาคารในประเทศไทย